ที่มาของความเชื่อ ตักบาตรน้ำผึ้ง
ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง เป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวไทยเชื้อสายมอญ (รามัญ) สืบทอดกันมาช้านาน โดยเชื่อว่ามีต้นกำเนิดมาจากความเชื่อของชาวมอญที่เชื่อว่า น้ำผึ้งเป็นยารักษาโรคได้ โดยในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าเคยทรงอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์รับน้ำผึ้งและน้ำอ้อยมาบริโภคเป็นยาได้ เนื่องจากเป็นอาหารที่มีรสหวาน ย่อยง่าย และมีประโยชน์ต่อสุขภาพ
ชาวมอญจึงเชื่อว่า การถวายน้ำผึ้งแด่พระภิกษุสงฆ์ เปรียบเสมือนการถวายสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ที่มีพระคุณ เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูต่อสิ่งที่ตนเคารพศรัทธา
หลังพุทธศตวรรษที่ 16 ที่ชนชาติพม่าได้ขยายอิทธิพลลงมาทำให้ชาวมอญต้องอพยพมาสู่ดินแดนภาคกลางของไทย พร้อมกับได้นำศิลปวัฒนธรรม ความเชื่อ จารีตประเพณี และวิถีชีวิตของตนเองตามมาด้วย รวมถึงประเพณีความเชื่อเรื่องการตักบาตรน้ำผึ้งอันเป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวมอญนี้สืบทอดมากันมาช้านาน โดยกำหนดจัดขึ้นช่วงวันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี ชาวมอญมีความเชื่อว่า การทำบุญตักบาตรน้ำผึ้งถวายแด่พระสงฆ์ จะมีอานิสงส์มาก อุดมไปด้วยโชคลาภ ทั้งชาตินี้และชาติหน้า น้ำผึ้งถือเป็นยาที่พระสงฆ์นำไปใช้ในยามจำเป็น ทำให้สุขภาพแข็งแรง ดังหลายตำนานสืบต่อกันมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น